พฤษภาคม 08 2016 0comment

เกษตรน่ารู้

การปลูกอ้อย ปลูกข้าว

  1. การระเบิดดินดาน ไถด้วยริปเปอร์ เพื่อทำลายชั้นดินดาน เพื่อปิดช่องรับน้ำฝน เพื่อการไหลของน้ำฝนลงด้านล่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่การเจริญเติบโตของรากอ้อย

  1. การไถกลบพืชปุ๋ยสด และวัชพืช ไถกลบพืชปุ๋ยสด หรือวัชพืชด้วยผานบุกเบิกหรือผานพรวน ครั้งให้ดินพลิกกลบวัชพืช

ทำในช่วงที่ดินมีความชื้น เพื่อไถกลบพืชปุ๋ยสด หรือวัชพืชให้อยู้ใต้ดินเพื่อเร่งอัตราการย่อยสลายของพืชปุ๋ยสด เพื่อเพิ่มให้พื้นที่พร้อมต่อขั้นตอนการปลูกต่อไป

  1. การพรวนดินก่อนปลูก ใช้จอบหมุนสำหรับดินแห้ง ไถปั่นดิน 1 ครั้ง ให้รอยไถต่อรอบ ราบเรียบ ไม่เป็นคลื่น เพื่อย่อยดินให้ละเอียด และปรับหน้าดินให้เรียบ เพื่อกำจัดวัชพืข ก่อนขั้นตอนการปลูก เพื่อให้พื้นที่เหมาะต่อการใช้เครื่องปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
  2. การปลูกและการปุ๋ย ครั้งที่ 1 (ปุ๋ยรองพื้น) ปลูกด้วยเครื่องปลูกแบบแถวคู่ ใช้ปุ๋ยสูตร อัตราตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อควบคุมระยะการปลูกความลึกของท่อนพันธุ์ การวางท่อนพันธุ์ เพื่อปรับระยะร้องปลูก เพื่อใช้แทรกเตอร์รุ่นเล็กเข้าดูแลแปลง
  3. การฉีดพ่นสารควบคุมวัชพืชแบบก่อนงอก ใช้สารป้องกันวัชพืชก่อนงอกแบบคุมดินแห้ง ฉีดพ่นให้ละอองควบคุมผิวดินให้สม่ำเสมอ ฉีดพ่นเมื่อลมสงบ เอป้องกันวัชพืชที่งอกมาจากเมล็ด เหมาะกบพื้นที่มีปัญหาวัชพืชระบาด
  4. การใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 พูนโคนอ้อยพรวนดินกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยคำนวณสูตร และอัตราปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน ใสปุ๋ยโดยให้เครื่องพรวนระหว่างแถวพร้อมโรยปุ๋ยต่อพ่วง การพูนโคน ปรับพรวนระหว่างแถว  6 จาน พร้อมโรยปุ๋ย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้อ้อยในช่วงย่างปล้อง และกำจัดวัชพืช พูนโคนกออ้อยเพื่อป้องกันอ้อยล้ม และเพิ่มอากาศในดิน
  5. การพวนดิน กำจัดวัชพืชระหว่างแถวอ้อย โดยใช้จอบหมุนต่อพ่วงแทรกเตอร์รุ่น B ปั่นย่อยกลบวัชพืช และพรวนหน้าดินให้ละเอียด ปั่นจอบหมุนให้อยู่กึ่งกลางระหว่างแถวอ้อย เพื่อกำจัดวัชพืชด้วยวิธีไถกลบ ลดการใช้สารเคมี เพิ่มอากาศในดิน เพื่อการเจริญเติบโตของราก เพื่อปิดหน้าดิน ลดการสูญเสียความชื้นดิน
  6. การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 โดยคำนวณสูตร และอัตราปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และระยะการเจริญเติบโตของอ้อย ใส่ปุ๋ยโดยใช้เครื่องฝังปุ๋ย เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้อ้อยในช่วงสะสมน้ำตาล เพื่อลดการสูญเสียปุ๋ย และควบคุมอัตราการใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ
  7. การรวนดิน กำจัดวัชพืช ใช้จอบหมุนพรวนหน้าดินให้ละเอียด ปั่นจอบหมุนให้อยู่กึ่งกลางระหว่างแถวอ้อย เพื่อปิดรอยเครื่องฝังปุ๋ยเพื่อกำจัดวัชพืช เพิ่มอากาศในดินและปิดความชื้นในดิน
  8. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวที่อายุ ไม่เกิน 14 เดือน เพื่อที่จะได้ผลผลิตตามที่เหมาะสม

 

aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-1-version-2

1 . Select healthy sugar cane plants. Sugar cane is easiest to find during the harvest season, in late summer and early fall. If you can’t find sugar cane plants at your local garden center, it can often be found at roadside stands and farmer’s markets. Asian groceries also often stock sugar cane plants.

  • Look for long, thick stems, which are more likely to produce healthy new plants.

  • The stems have joints, and a new plant will sprout from each one. Keeping this in mind, buy as many stems as you need to produce the size crop you want

 

aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-2-version-2

2 . Split the sugar cane stems into foot-long pieces. Leave three to four joints per piece, to make it more likely that each piece will produce a few sprouts. If the stems have any leaves or flowers, go ahead and remove them.

 aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-3-version-2

3 . Dig furrows in a sunny planting spot. Sugar cane stems are planted horizontally on their sides, in four-inch deep furrows, or trenches. They need full sun, so choose an area that isn’t shaded. Dig furrows long enough to fit each piece of cane you’re planting, and space the furrows one foot apart.

  • Use a spade or hoe, rather than a shovel, to make it easier to dig the furrows.

  • Large scale sugar farmers ideally have more sophisticated equipment to dig these furrows.

 

aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-4-version-2

 

4 . Moisten the furrows. Use a hose to lightly moisten the furrows to prepare them for the sugar cane. Make sure the water has drained and there are no remaining puddles before you plant.

 

aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-5-version-2

 

5 . Plant the sugar cane. Place the stems horizontally into the furrows. Cover them with soil. Do not plant stems upright, or they will not grow.

aid955688-900px-plant-sugar-cane-step-6-version-2

 

6 . Wait for the sugar cane to grow. In the spring, usually in April or May, shoots will start to grow from the nodes of the stems. You’ll see them breaking through the soil to form individual sugar cane stalks, which will grow quite tall by summer’s end.


How is rice grown

 

Seed quality and selection

Seed is a living product that must be grown, harvested, and processed correctly in order to realize the yield potential of any rice variety. Good quality seed can increase yields by 5-20%. Using good seed leads to lower seeding rates, higher crop emergence, reduced replanting, more uniform plant stands, and more vigorous early crop growth. Vigorous growth in early stages reduces weed problems and increases crop resistance to insect pests and diseases. All of these factors contribute to higher yields and more productive rice farms.

Good seed is pure (of the chosen variety), full and uniform in size, viable (more than 80% germination with good seedling vigor), and free of weed seeds, seed-borne diseases, pathogens, insects, or other matter.

Choosing seed of a suitable variety of rice that suits the environment it will be grown in and ensuring the seed choosen of that variety is of the highest possible quality is the essential first step in rice production

Land preparation

Before rice can be planted, the soil should be in the best physical condition for crop growth and the soil surface is level. Land preparation involves plowing and harrowing to ‘till’ or dig-up, mix and level the soil.

Tillage allows the seeds to be planted at the right depth, and also helps with weed control. Farmers can till the land themselves using hoes and other equipment or they can be assisted by draft animals, such as buffalo, or tractors and other machinery.

Next, the land is leveled to reduce the amount of water wasted by uneven pockets of too-deep water or exposed soil. Effective land leveling allows the seedlings to become established more easily, reduces the amount of effort required to manage the crop, and increases both grain quality and yields.

Crop establishment

The two main practices of establishing rice plants are transplanting and direct seeding.

Transplanting  is the most popular plant establishment technique across Asia. Pre- germinated seedlings are transferred from a seedbed to the wet field. It requires less seed and is an effective method to control weeds, but requires more labor. Seedlings may be transplanted by either machine or hand.

Direct seeding involves broadcasting dry seed or pre-germinated seeds and seedlings by hand or planting them by machine. In rainfed and deepwater ecosystems, dry seed is manually broadcast onto the soil surface and then incorporated either by ploughing or by harrowing while the soil is still dry. In irrigated areas, seed is normally pre- germinated prior to broadcasting.

 

Water use and management

Cultivated rice is extremely sensitive to water shortages. To ensure sufficient water, most rice farmers aim to maintain flooded conditions in their field. This is especially true for lowland rice. Good water management in lowland rice focuses on practices that conserve water while ensuring sufficient water for the crop.

In rainfed environments when optimal amounts of water may not be available for rice production, a suite of options are available to help farmers cope with different degrees and forms of water scarcity. It includes sound land preparation and pre-planting activities followed by techniques such as saturated soil culture, alternate wetting and drying, raised beds, mulching, and use of aerobic rice that can cope with dryer conditions.

 

Nutrient management

At each growth stage, the rice plant has specific nutrient needs. This makes nutrient management a critical aspect of rice farming.

The unique properties of flooded soils make rice different from any other crop. Because of prolonged flooding in rice fields, farmers are able to conserve soil organic matter and also receive free input of nitrogen from biological sources, which means they need little or no nitrogen fertilizer to retain yields. However, farmers can tailor nutrient management to the specific conditions of their field to increase yields.

 

Crop health

The rice plant has a wide array of ‘enemies’ in the field. These include rodents, harmful insects, viruses, diseases, and weeds. Farmers manage weeds through water management and land preparation, by hand weeding, and in some cases herbcide application. Understanding the interactions among pests, natural enemies, host plants, other organisms, and the environment allows farmers to determine what if any pest management may be necessary.

Avoiding conditions that allow pests to adapt and thrive in a particular ecosystem helps to identify weak links in the pests’ life cycle and therefore what factors can be manipulated to manage them. Retaining natural ecosystems such that predators and natural enemies of pests and diseases are kept in abundance can also help keep pest numbers down.

 

Harvest

Harvesting is the process of collecting the mature rice crop from the field. Depending on the variety, a rice crop usually reaches maturity at around 105–150 days after crop establishment. Harvesting activities include cutting, stacking, handling, threshing, cleaning, and hauling. Good harvesting methods help maximize grain yield and minimize grain damage and deterioration.

Harvesting can be done manually or mechanically:

Manual harvesting is common across Asia It involves cutting the rice crop with simple hand tools like sickles and knives. Manual harvesting is very effective when a crop has lodged or fallen over, however it is labor intensive. Manual harvesting requires 40 to 80 hours per hectare and it takes additional labor to manually collect and haul the harvested crop.

Mechanical harvesting using reapers or combine harvesters is the other option, but not so common due to the availability and cost of machinery. Following cutting the rice must be threshed to separate the grain from the stalk and cleaned. These processes can also be done by hand or machine.

 


การส่งเสริมเกษตรกรที่มีรถไถนา รถแทรกเตอร์

ปัจจุบันเครื่องจักรกลการเกษตรกลับประสบปัญหาในการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งนามีขนาดเล็ก ส่งผลให้เครื่องจักรกลการเกษตรทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพทำให้เสียน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ เครื่องจักกลสึกหรอเร็วและสูญเสียเวลาในการทำงาน

ดังนั้นสยามคูโบต้าจึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการขยายแรงงานในภาคอีสาน โดยมีแนวความคิดในการส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคอีสานทำการขยายแปลงนาของตนเอง ให้มีขนาดเหมาะสมกับการทำงานของเครื่องจักรกลการเกษตรโดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่มี รถแทรคเตอร์ รถไถคูโบต้ามือสอง , รถไถมือสอง ทำการปรับขยายแปลงนาของตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนการปรับขยายแสนนาดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 การตรวจดูสภาพแปลงนาที่ต้องการขยายแปลงนาด้วยการตรวจสภาพความสูงต่ำของแปลงนา มีอยู่ 2 วิธีได้แก่ การใช้กล้องส่องวัดระดับความแตกต่างของแปลงนา และการใช้สายตาในการวัดระดับความแตกต่างของแปลงนา  การวัดความแตกต่างของระดับแปลงนา และขั้นตอนการวัดระดับความแตกต่างของแปลงนาด้วยกล้องสำรวจ

1 กำหนดการติดกล้องวัดระดับและมุมใดมุมหนึ่งที่สามารถมองเห็นแปลงนาในตัวแปร

2 ตั้งกล้องให้ได้แนวระดับพอดีโดยสังเกตจากที่วัดระดับตาไก่ของขาตั้งกล้อง

3 วาดผังแปลงนาแบบตารางหมากรุกกำหนดระยะความกว้างยาวประมาณ 10 เมตร

4.ใช้ไม้ วัดระดับความต่างตามจุดเอส ตามผังแปลงนาจากรูปถ้าส่องกล้องวัดระดับและทำการบันทึกค่าความต่างระดับของแปลงนาด้วย

อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรเลือกที่จะขยายแปลงนาแต่ยังไม่มีรถคูโบต้ามือหนึ่ง ขอแนะนำให้ลองหาซื้อรถคูโบต้ามือสอง รถไถคูโบต้ามือสอง หรือ รถไถมือสอง จากแหล่งที่น่าเชื่อถือและที่สำคัญมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับรถมือหนึ่ง ทั้งนี้ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายของเกษตรกรเองที่ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อรถเหล่านี้ได้มากกว่าครึ่องแน่นอน

แต่ทั้งนี้ต้องศูนย์จัดจำหน่ายต้องได้รับความน่าเชื่อจากเกษตรกรด้วย อย่างเช่นที่เว็บไซต์ https://kubotaasia.com ศูนย์จัดจำหน่าย รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวนวดข้าว รถดำนา รถคูโบต้ามือสอง รถไถมือสอง ที่มั่นใจได้

Tags: คูโบต้ามือสอง, รถไถคูโบต้ามือสอง, รถไถมือสอง

วิธีปลูกมันสำปะหลัง

  1. 1. การเตรียมดิน

หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมัน

ที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน3 (อย่าเผาทำลายวัชพืช) ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

  1. การเตรียมท่อนพันธุ์

ใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน1.6 ขีด (160 กรัม) ผสมร่วมกับมาลาไธออน20 ซีซี ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

  1. การปลูก

ปลูกเป็นแถวแนวตรง เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษาและกำจัดวัชพืช โดยใช้ระยะระหว่างแถว 1.20 เมตร ระยะระหว่างต้น 80 ซม. และปักท่อนพันธุ์ให้ตั้งตรงลึกในดินประมาณ 10 ซม.

  1. การฉีดยาคุมเมล็ดวัชพืช

สำหรับการปลูกในฤดูฝนสภาพดินชื้น ควรฉีดยาคุมวัชพืชด้วยยาไดยูรอน (คาแม็กซ์) หลังจากการปลูกทันที ไม่ควรเกิน 3 วัน หรือก่อนต้นมันงอก หากฉีดหลังต้นมันงอก อาจทำให้ต้นมันเสียหายได้ ใช้ยาในอัตรา 6 ขีด (600 กรัม) ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นได้ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง

  1. การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย

กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

  1. การเก็บเกี่ยว

ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป

 

การทำนาดำ

  1. เตรียมดิน ครั้งที่ 1 การไถกลบตอชังและฟางข้าว โดยการใส่น้ำแปลงนาให้ดินมีความชื้นเพื่อง่ายต่อการปั่นจากนั้นปั่นจอบหมุนเพื่อย่อยตอชังและฟางข้าว

  1. และปิดหน้าดินเพื่อย่อยดินหมักเศษฟางทิ้งไว้ก่อนปลูก ประมาน 7-10 วัน เพื่อให้เศษฟางและตอชังย่อยสลาย
  2. เตรียมดิน ครั้งที่ 2 พรวนดินและลูบเทือกแต่ต้องปรับสภาพแปลงนาให้เหมาะสมกับการดำนา ปรับหน้าดินให้ราบเรียบไม่มีความลาดชันเพื่อจัดการน้ำง่าย
  3. การควบคุมและกำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1โดยการฉีดพ่นสารคุมฆ่าวัชพืชก่อนงอก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของวัชพืชในแปลงนา ควรฉีดในช่วงเช้าหรือช่วงเย็นเพราะเป็นช่วงที่ลมสบ
  4. การเพาะกล้า การเตรียมวัสดุเพาะ วัสดุที่ใช้เพาะกล้า คือ แกลบเอผา หรือ ดินวัสดุที่เหมาะสม คือไมผงละเอียดไม่มีคาบน้ำมันและเชื้อราเมล็ดพันธุ์ข้าวควรมาจกแหล่งที่น่าเชื่อถือ เมล็ดพันธุ์ควรงอกมกว่า 85 % แล้วแช่เมล็ดพันธุ์ 1 คืน และบ่ม 1 วันเพื่อให้เมล็ดข้าวแตกตุ่มตาแล้วใส่วัสดุลงในถาและรดน้ำให้ชุ่ม แล้วนำเมล็ดข้าวบรรจุในเครื่องโรยเมล็ดข้าว โรยวัสดุเพาะพันธุ์ปิดหน้าและทำการบ่มไว้ 2คืนและนำไปอนุบาลต่อให้แปลงแผ่กล้า
  5. การปักดำด้วยรถดำนา คือการใช้รถดำนาพร้อมกับกล้าที่เตรียมไว้ ปักดำไปตามทางทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์หรือทิศทางลม เพื่อถ่ายเทอากาศได้ดี
  6. การจัดการน้ำหลังจากการปักดำจนถึงข้าวอายุ 30 วัน ถึงจะสูบน้ำเข้านา และควบคุมน้ำที่ระดับ 3-5 ซม.
  7. การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 อายุข้าวจะต้อง 22-25 วันเพื่อเร่งการเจริญเติบโตเน้นใสธาตุอาหารหลักให้ครบตามที่ข้าวต้องการ
  8. การควบคุมละกำจัดวัชพืช ครั้งที 2 หลังจากปลูกไม่เกิน 30-35 วัน เพื่อกำจัดข้าววัชพืชหรือข้าวเรื้อรังที่ตกค้างในแปลงนาระหว่างแถวข้าว ไม่ให้รบกวนการเจริญเติบโตของต้นข้าว
  9. การแกล้งข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ข้าวต้องอายุ 35 วัน โดยการใช้ท่อพีวี๙ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว เจอะรูรอบท่อให้การแกล้งข้าวโดยการปล่อยน้ำให้แห้งเองในช่วงอายุข้าว 35-45 วันแล้วเติมน้ำเพิ่มและปล่อยให้แห้งเองจนถึงข้าวตั้งท้องให้หยุดการแกล้ง เพื่อลดการใช้น้ำ ช่วยลดการใช้สารเคมีและโรคราต่างๆและเพิ่มการแตกกอของข้าวแล้วยังช่วยลดปัญหานาหล่มอีกด้วย
  10. การใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2ข้าวจะต้องมีอายุ 40-50 วันเน้นการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง และธาตุอาหารครบเพื่อกระตุ้นการแตกกอของข้าวและเพื่อเร่งการแตกกอ
  11. การจัดการน้ำ สูบน้ำเข้านาให้ได้ระดับน้ำที่ 5 ซม. เพื่อให้ระดับน้ำพอเพียงต่อการเจริญเติบโตของข้าว และเพื่อรักษาระดับน้ำในแปลงไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโตได้
  12. การใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 3 อายุข้าวต้อง 60 วัน เน้นการใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มจำนวนรวงข้าวและสะสมน้ำหนักเมล็ดก่อนใส่ปุ๋ยควรมีระดับน้ำในแปลงนา 7-10 ซม.

 

วิธีการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

 

ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสม

·       ต้นฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนมิถุนายน ตามสภาพฝนแต่ละพื้นที่

·       ปลายฤดูฝน ปลูกได้ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม

·       ฤดูแล้ง ปลูกได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์

 

การเตรียมดิน สำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน เพื่อให้ผิวดินอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ และให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก และทำลายเหง้าวัชพืชให้แห้งตายและฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน การไถพรวนควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้หลักการ ไถดะให้ลึก ไถแปรให้ดินแตกละเอียด

1.      ไถดะ การไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ควรไถให้ลึกประมาณ 30 ซม.เพราะการไถลึก จะทำให้ดินเก็บน้ำได้มาก และตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด

2.      ไถแปร ควรไถด้วยผาน 7 โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะเพื่อย่อยดินก้อนใหญ่ให้แตก ทำให้ดินมีความร่วนซุยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เมล็ดพันธุ์งอกได้อย่างสม่ำเสมอ

 

การปลูกและระยะปลูก ทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1.      ใช้เครื่องปลูก เลือกรูจานหยอดให้เหมาะกับขนาดของเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะระบุไว้ที่ถุง โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างระหว่างแถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุมประมาณ 20-25 ซม. โดยปริมาณเมล็ดที่ใช้จะประมาณ 3-3.5 กก./ไร่ และ จะมีจำนวนต้นข้าวโพด/ไร่ ประมาณ 8,533-10,600 ต้นต่อไร่ ควรหยอดเมล็ดข้าวโพดให้ลึก 2.5-3 นิ้ว

2.      ใช้คนปลูก ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะทางภาคเหนือ จะใช้เชือกในการกำหนดระยะให้มีระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 70 ซม. แล้วใช้จอบขุด หยอดเมล็ด 1-2 เมล็ดแล้วกลบ โดยจำนวนเมล็ดที่หยอดและระยะห่างระหว่างหลุม ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ว่า สายพันธุ์นั้นเหมาะกับการปลูกถี่ได้ดีเพียงใด

 

เคล็ดไม่ลับ:

·       การทดสอบความชื้นของดินว่าเพียงพอหรือไม่ ให้นำดินที่ระดับความลึกที่ใช้หยอดเมล็ดจริงมาปั้น หากปั้นเป็นก้อนได้แสดงว่าความชื้อพอเหมาะ

·       ควรทำการทดสอบเครื่องหยอด, รูจานหยอด กับเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจริง ว่าได้ตามระยะที่ต้องการหรือเปล่า ถ้าหากถี่หรือห่างเกินไป จะได้เปลี่ยนจานที่มีจำนวนรูจานตามต้องการ

·       ความลึกในการหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับความชื้น, ประเภทของดิน รวมถึงประสบการณ์ของเจ้าของแปลงซึ่งโดยทั้วไป หยอดลึกไม่เกิน 4-5 ซม.

 

การใส่ปุ๋ย แบ่งได้ 2 ครั้ง เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ ดังนี้

1.      ปุ๋ยรองพื้น ควรใส่รองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 20 กิโลกรัม/ไร่

2.      ปุ๋ยยูเรีย เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25-30 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่

ข้อแนะนำ ควรใส่ปุ๋ยพร้อมกับการกำจัดศัตรูพืชเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-35 วัน หรือสูงแค่เข่า โดยใส่แบบโรยข้างแถวให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ดินกลบ

 

การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน

          ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน ถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน  แล้วพรวนดิน

          ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วันถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน  แล้วพรวนดินกลบ

ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

ดินร่วน หรือดินร่วนทราย  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ

 

ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ผลผลิตข้าวโพดทุก ๆ 100 กิโลกรัมจะสูญเสียธาตุอาหารหลักไปกับเมล็ด คือ ไนโตรเจน 1.59 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.38 กิโลกรัม โพแทสเซียม 0.51 กิโลกรัม ส่วนตอซังจะสูญเสีย ไนโตรเจน 0.77กิโลกรัม ฟอสฟอรัส 0.11 กิโลกรัม โพแทสเซียม 1.62 กิโลกรัม ดังนั้นจึงไม่ควรเผาต้นหรือนำตอซังไปทิ้ง ควรไถกลบลงดินเป็นปุ๋ยพืชสด

 

การกำจัดวัชพืช

ช่วงวิกฤตที่ข้าวโพดอ่อนแอต่อวัชพืชที่สุดคือระยะ 13-25 วัน หลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิต ข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูง จึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืช ตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก โดยเลือกวิธีการกำจัดวัชพืชที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ ดังนี้

1. การไถและพรวนดิน ก่อนปลูกข้าวโพด โดยไถและพรวนดินหลังวัชพืชงอก จะช่วยทำลายกล้าวัชพืชให้ตายได้ ส่วนกล้าและเหง้าวัชพืชที่ตายยาก ควรตากดินนาน 10-15 วัน เพื่อให้วัชพืชตาย ก่อนปลูกข้าวโพด

2. การทำรุ่น เป็นการพรวนดิน ดายหญ้า หลังข้าวโพดงอกแล้วแต่ก่อนจะถึง ระยะวิกฤตโดยใช้เครื่องมือกลต่าง ๆ เช่น จอบ ไถ รถไถและรถแทรกเตอร์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืช ในแถวหลงเหลืออยู่จึงต้องใช้ขอบดายตามอีกครั้ง

3. การใช้สารเคมี อาจใช้ทันทีหลังปลูกข้าวโพดหรือพ่นกำจัดวัชพืชหลังข้าวโพดและวัชพืชงอกแล้ว การใช้สารเคมีเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัด แต่ต้องระมัดระวังเพราะอาจเป็นอันตรายต่อคน พืชอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อม ควรฉีดพ่นขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่ สารเคมีที่แนะนำมีดังนี้

อาทราซีน 80 ในอัตรา 375-750 กรัม  ผสมน้ำ 60-80 ลิตร/ไร่ผสมอะลาคลอร์ 500-750 ซีซี ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นในพื้นที่ 1 ไร่   ในขณะที่ดินมีความชื้นใช้ก่อนข้าวโพดงอก (และก่อนหญ้างอกหรือหญ้างอกต้นเล็กไม่เกิน 3 ใบ) ถ้าเป็นดินเหนียวให้ใช้เพิ่มขึ้นอีก ใช้ควบคุมวัชพืชใบกว้างและใบแคบได้ดีเป็นพิษต่อผักและพืชตระกูลถั่ว ดังนั้นถ้าจะปลูกถั่วตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อาทราซีนและอะลาคลอร์ ใช้ฉีดพ่นวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก ใช้อัตรา 500-1,000 ซีซี/ไร่ กำจัดวัชพืชใบแคบได้ดี เป็นพิษต่อข้าวฟ่าง ดังนั้นถ้าจะปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด ไม่ควรใช้อะลาคลอร์

หมายเหตุ การใช้สารกำจัดวัชพืช จะได้ผลดีถ้าปฏิบัติถูกต้อง แต่มีข้อควรระวัง คือ ต้องผสมน้ำและฉีดพ่นขณะที่ดินยังชื้นอยู่ และไม่แนะนำให้ปลูกข้าวฟ่างตามหลังข้าวโพด เพราะทั้ง 2 พืชมีระบบรากคล้ายกันและใช้ธาตุอาหารคล้ายกัน ดินจะเสื่อมเร็ว ควรปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่น

 

ความต้องการน้ำของข้าวโพด  

ข้าวโพดมีความต้องการใช้น้ำตลอดฤดูปลูก ประมาณ 350-600 มิลลิเมตร

1.      การใช้น้ำครั้งแรกเมื่อปลูก หลังจากไถพรวนเตรียมแปลงเสร็จ ให้น้ำประมาณ 30-40 มิลลิเมตร เพื่อให้ดินมีความชื้นพองอก

2.      การให้น้ำในช่วงระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด ควรให้สัปดาห์ละประมาณ 40-50 มิลลิเมตร ไม่ควรให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ข้าวโพดเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลด และอาจตายได้ ถ้าให้น้ำมากเกินไปควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงทันที

 

ข้าวโพด เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดอายุการเจริญเติบโตแต่ความต้องการน้ำจะสูงสุด ในช่วงออกดอกและช่วงระยะต้นของการสร้างเมล็ด ถ้าหากขาดน้ำ

·       ในช่วงระยะการเจริญทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 25%

·       ในช่วงระยะออกดอกตัวผู้-ออกไหม-เริ่มสร้างเมล็ดผลผลิตจะลดลง 50%

·       ในช่วงระยะหลังการสร้างเมล็ดเสร็จ ผลผลิตจะลดลง 21%

 

การเก็บเกี่ยวข้าวโพด

ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัดและเก็บในช่วงที่อากาศแห้ง ถ้ามีฝนตกควรงดการเก็บเกี่ยวเพราะฝักจะเน่าได้ง่ายไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดก่อนกำหนด แต่ถ้าต้องการพื้นที่เพื่อปลูกพืชรุ่น 2 ก็สามารถตัดยอดข้าวโพดออก ปล่อยให้ฝักข้าวโพดแห้งบนต้นได้ การตัดยอดและใบข้าวโพดออกเป็นการเปิดหน้าดินให้พืชรุ่น 2 ได้รับแสงแดดโดยไม่ต้องรีบเก็บเกี่ยวก่อนกำหนด การตัดยอดข้าวโพดหลังจากข้าวโพดออกไหมแล้ว 1 เดือน เป็นต้นไป ไม่ทำให้ผลผลิตลดลง

ถ้าข้าวโพดไม่แก่เต็มที่ความชื้นจะยังสูง ทำให้กะเทาะเมล็ดยากเกิดบาดแผลได้ง่ายจึงควรปล่อยให้ข้าว โพดแห้งคาต้นก่อนจึงเก็บเกี่ยวโดยหักฝักข้าวโพดให้หัวห้อยลง วิธีจะป้องกันการเข้าทำลายของแมลงทางปลายฝักได้ และสามารถป้องกันความชื้นหรือน้ำที่ปลายฝักได้

ข้าวโพดที่หักมาแล้ว ควรคัดฝักเสียออกไป เช่นฝักที่มีหนอนแมลงเจาะทำลายหรือฝักที่มีเชื้อราขึ้น จะทำให้เชื้อราไม่

แพร่ระบาดไปยังฝักที่ดี แล้วจึงนำฝักที่ดีไปตากให้แห้งโดยเร็ว

 

วิธีการเก็บเกี่ยว

1. เก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน

1.1  วิธีการเก็บใช้ไม้ปลายแหลมแทงเปลือกบริเวณปลายฝัก  ต้องระวังอย่าให้โดนเมล็ดปอกเปลือกแล้วใส่ในตะกร้า หรือ กระสอบป่าน หรือวางกองไว้บนผ้าพลาสติกหรือใช้ซากต้นข้าวโพดรองพื้น

1.2  เก็บเกี่ยวโดยหักข้าวโพดทั้งเปลือกแล้วจึงมาแกะเปลือกภายหลัง  หรือเก็บไว้ทั้งเปลือก  การเก็บเกี่ยววิธีนี้ทำได้เร็ว ช่วยป้องกันไม่ให้เมล็ดเกิดแผลหรือเมล็ดร้าวในระหว่างทำการเก็บเกี่ยวหรือขนย้าย  นอกจากนี้  เปลือกยังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อรา  และแมลงสัมผัสเมล็ดโดยตรง  การเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน  ไม่ควรวางฝักข้าวโพดบนพื้นที่ชื้นแฉะ  อย่าโยนฝักข้าวโพดเพราะทำให้เกิดบาดแผลบนผิวของเมล็ดหรือเมล็ดร้าว  ทำให้เชื้อราเข้าทำลายเมล็ดได้ง่าย  ขณะเก็บเกี่ยว  ให้แยกฝักเน่าหรือมีเชื้อราเข้าทำลายออกจากฝักดี  และเผาทำลายฝักเน่าและฝักที่มีเชื้อรา

 

2.  เก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ

การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่  เครื่องปลิดฝักข้าวโพด  (corn snapper)  เครื่องปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด  (corn picker-husker)  และเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด  (corn picker-Sheller  หรือ  corn combine harvester) เครื่องชนิดนี้จะปลิดฝักข้าวโพดจากต้นแล้วสีออกเป็นเมล็ด  การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวมีข้อดีในกรณีขาดแคลนแรงงาน  ทำให้ค่าจ้างเก็บเกี่ยวสูง  สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่างรวดเร็ว  และอาจทำให้ทันปลูกในฤดูฝน  แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องเก็บเกี่ยวในพื้นที่ราบและสม่ำเสมอ  ต้นข้าวโพดหักล้มน้อย  ยังมีอัตราการสูญเสียเนื่องจากฝักเก็บเกี่ยวไม่หมด  และมีการแตกหักของฝักและเมล็ด  ทำให้เชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย  นอกจากนี้ การเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ปลูกในต้นฤดูฝนอาจจะทำให้รถเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ลำบากเพราะดินเปียกโดยเฉพาะรถเก็บเกี่ยวที่มีขนาดใหญ่  รถเก็บเกี่ยวยังมีราคาค่อนข้างแพง  และไม่คุ้มค่าที่เกษตรกรรายเล็กจะซื้อไว้ประจำฟาร์ม  จึงมีการจ้างเหมารถเก็บเกี่ยวโดยคิดราคาต่อกิโลกรัม  หรือจ้างเหมาเป็นไร่ในบางจังหวัด

 


การปลูกปาล์มน้ำมัน

การปลูกปาล์มน้ำมัน  อย่างถูกวิธีจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันดีและให้ผลผลิตสูง

การกำหนดระยะปลูกปาล์มน้ำมัน นั้นควรดู ทิศทางของแสงแดดเพื่อให้ปาล์มน้ำมัน ได้รับแสงแดดมากที่สุดเพื่อให้ใบได้มีกระบวนการสังเคราะห์แสง ควรปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า  โดยแถวหลักที่เป็นฐานของสามเหลี่ยมอยู่ในแนวทิศเหนือ–ใต้ แถวถัดไปจะปลูกกึ่งกลางของแถวหลัก และระยะการปลูก 9×9 เมตรเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ห่างเพียงพอ ซึ่งเมื่อปาล์มโตเต็มที่แล้วใบจะไม่บังแสงกันเอง  ทำให้ต้นได้รับแสงมากที่สุด   ระยะปลูก 9×9 เมตรนี้ มีระยะระหว่างต้น 9 เมตร และระยะระหว่างแถว 7.8 เมตร โดยแถวติดกันจะปลูกสับหว่างกันดังรูป

ระยะปลูกปาล์น้ำมัน
ระยะปลูกปาล์มน้ำมัน
กล้าปาล์มน้ำมัน
กล้าปาล์มน้ำมัน

หลุมปลูก เมื่อวางแนวปลูกและปักไม้เป็นเครื่องหมายแล้วขุดหลุมขนาดกว้าง 45 ซม. ยาว 45 ซม. ลึก 35 ซม. เป็นรูปตัวยูโดยให้จุดที่ปักไม้เป็นจุดกลางหลุมใช้เสียมแซะดินให้หลุมตั้งตรงขุดดินชั้นบนและชั้นล่างแยกกัน ตากไว้ประมาณ 10 วันก่อนนำต้นกล้ามาปลูก

ฤดูปลูก ฤดูที่เหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมัน คือ ต้นฤดูฝนประมาณ เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ควรปลูกเมื่อฝนเริ่มตกแล้วเพราะดินจะมีความชื้นเพื่อให้ต้นกล้าได้มีเวลาตั้งตัวในแปลงได้นาน

อายุต้นกล้าที่เหมาะสมประมาณ 10-12 เดือน ต้นกล้าที่มีอายุน้อยเกินไปจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สำหรับต้นกล้าที่มีอายุมากเกินไปผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและตกผลช้าและไม่สะดวกในการขนย้ายบางครั้งไม่สามารถใช้ต้นกล้าที่มีอายุเท่าที่กำหนดได้เราสามารถแก้ไขได้โดยตัดใบบางส่วนทิ้งบ้างและระวังอย่าให้รากบอกบซ้ำจากการขนย้ายมากนัก การขนย้ายต้นกล้าควรขนย้ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันด้วยความประณีต ไม่ให้กระทบกระเทือนมากเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต

วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกันแต่มีหลักสำคัญคือ

1.ใส่ในช่วงที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
2.ใส่บริเวณที่รากปาล์มน้ำมันดูดไปใช้ได้มากที่สุด
ระยะเวลา ควรใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอหลีกเหลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปีช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝนตั้งแต่ปี่ 5 ขึ้นไปพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม

การแบ่งใส่ปุ๋ย ใส่ปีละ 2-3 ครั้ง ระยะต้นฝน กลางฝน และปลายฝน
ช่วงต้นฝน  คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม – กันยายน
ช่วงปลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน

วิธีการใส่ปุ๋ยควรใส่ครั้งแรกเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันโดยใส่ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์รองก้นหลุมโดยปี แรก ถึงปีที่ 4  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ในอัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น แบ่งใส่ปีละ 2 ครั้ง

สำหรับปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า 2.5 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับปุ๋ยเคมี สูตร 5-3-15  2.5 กิโลกรัมต่อต้น

เก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน
การเก็บผลผลิตปาล์มน้ำมัน

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน แต่การเกิดดอกทั้ง 2 ชนิดนี้จะทยอยเกิดออกมาไม่พร้อมกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการผสมเกสรในต้นเดียวกัน จึงไม่มีหรือมีน้อยมาก   ดังนั้นการผสมเกสรทั้งหมดของปาล์มจะเป็นการผสมข้ามต้น  ซึ่งพาหะในการผสมเกสรก็คือ ลม และแมลง  ลมสามารถพัดเกสรปาล์มไปได้ไกลถึง 30 เมตร แต่กระนั้นก็ตาม การผสมเกสรของปาล์มก็ยังไม่ทั่วถึง  วิธีการเพิ่มผลผลิตปาล์มจึงต้องอาศัย การผสมด้วยคน หรือแมลง เป็นตัวช่วย

แมลงที่ช่วยผสมเกสรปาล์มน้ำมันคือด้วงงวงปาล์มน้ำมัน (African oil palm weevil) ซึ่งมีอยู่ 5 ชนิดคือ Elacidobius Kamerunicus Fst., Elacidobius Plagiatus Fst., Elacidobius Singularis Fst., Elacidobius Bilineatus Fst., Elacidobius Subrittatus Fst.  โดยด้วงงวงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และเหมาะกับประเทศไทยคือ Elacidobius Kamerunicus

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน
ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน

ด้วงงวงปาล์น้ำมัน เป็นด้วงขนาดเล็ก  ความยาวลำตัว 1.8 มิลลิเมตร กว้าง 1 มิลลิเมตร  ด้วงงวงจะกัดกันเกสรตัวผู้ของปาล์ม  เป็นอาหาร โดยขณะที่มันกัดกินเกสรตัวผู้ เกสรตัวผู้จำนวนมากจะติดอยู่บนลำตัวของด้วง และเมื่อมันบินไปตอมเกสรตัวเมีย ก็จะพาเอาเกสรตัวผู้ไปผสม  ด้วงจะวางไข่ลงบนเกสรตัวผู้ของปาล์ม ไข่จะฟักเป็นหนอน และดักแด้อยู่บนเกสรตัวผู้ของปาล์มนั่นเอง

ด้วงงวงปาล์มน้ำมัน มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา แต่ถูกนำเข้าไปในประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั่วโลก รวมทั้งไทย  โดยด้วงสามารถเพิ่มผลผลิตปาล์มได้ 30-60% และลดการใช้แรงงานคนในการผสมเกสร

สำหรับพื้นที่ที่ยังไม่เคยปลูกปาล์มมาก่อนควรสำรวจดูว่ามีด้วงปาล์มน้ำมันอยู่หรือไม่ หากไม่มีควรนำไปปล่อย   และการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ควรให้มีผลกระทบต่อด้วง

การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงานมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
1.ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่องทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการลำเลียงและการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
2.คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10–12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
3.หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่  และติดแน่นกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมาก  ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทง ทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
4.ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่งหรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังได้สะดวก
5.รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น   เก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อยทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก
6.สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดินหรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง  และควรระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
7.รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวบรวมผลปาล์ม

ข้อควรคิดก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน

แหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน แต่เดิมจะปลูกในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป  หรือภาคตะวันออก แต่เนื่องจากปัจจุบัน เกษตรกร ในภาคอื่น ๆ ก็เริ่มหันมาสนใจปลูกปาล์มน้ำมันกันมาก  ข้อควรพิจารณาหากต้องการปลูกปาล์มน้ำมันมีดังนี้

  1. น้ำ :  น้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่สูง  เกษตรกรในภาคใต้ สามารถปลูกปาล์มโดยใช้เพียงน้ำฝน และได้ผลผลิตมากกว่า 2.5 ตันต่อไร่ เนื่องจากฤดูแล้งสั้นกว่าพื้นที่อื่น แต่พื้นที่อื่น ซึ่งฝนทิ้งช่วงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หากใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว ผลผลิตอาจได้เพียง 1-1.5 ตันต่อไร่ซึ่งไม่คุ้มทุน  แต่หากมีแหล่งน้ำแล้ว สามารถปลูกปาล์มได้ทุกพื้นที่ และผลผลิตอาจได้ถึง 4.5-6 ตันต่อไร่ต่อปี หากมีการจัดการที่ดี
  2. แหล่งรับซื้อผลผลิต : แหล่งรับซื้อผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นลานปาล์ม หรือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ควรอยู่ห่างจากแปลงปลูกไม่เกิน  150 กิโลเมตร หากไกลกว่านั้น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจะสูงจนไม่คุ้มทุน และยิ่งแปลงปลูกเล็ก ก็ยิ่งควรอยู่ใกล้แหล่งรับซื้อ สำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กไม่ควรอยู่ห่างจากแหล่งรับซื้อเกินกว่า 20-30 กิโลเมตร

 


 

การปลูกข้าว 

นาข้าว

การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลิตผลสูงประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายอย่าง เช่น การ ปลูกด้วยข้าวพันธุ์ดี วิธีการปลูกและดูแลรักษาดี มีการป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูข้าว มีการกำจัดวัชพืช มีการใส่ปุ๋ยในนาข้าว มีการรักษาระดับน้ำ ในนา ข้าวพันธุ์ดีจะให้ผลิตผลสูง เมื่อได้มีวิธีการปลูก และดูแลรักษาดีเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ปลูกข้าวจะต้องมีความเข้าใจว่า ข้าวพันธุ์ดีที่รัฐบาลส่งเสริมให้ชาวนาปลูกนั้น ควรได้รับวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างไร ที่เป็นอย่างนี้ เพราะข้าวพันธุ์ดีมีลักษณะรูปต้นไม่เหมือนกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ชาวนาปลูกกันมาตั้งแต่สมัยก่อน ข้าวพันธุ์ดีในที่นี้หมายถึง พันธุ์ข้าวที่มีลักษณะรูปต้นดี เช่น มีความสูงประมาณ ๑๐๐-๑๓๐ เซนติเมตร จากพื้นดินถึงปลายรวงของรวงที่สูงที่สุดแตกกอมาก ใบสีเขียวแก่ ตั้งตรง ปลายใบไม่โค้งงอ และเป็นพันธุ์ ที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง คือ ให้ผลิตผลสูงมากขึ้น เมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้น ดังนั้น การปลูกข้าวพันธุ์ดี เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงนั้นควรปฏิบัติดังนี้

นาข้าว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า
นาข้าว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า

๑. การเตรียมดิน

การเตรียมดินควรทำการไถดะ ๑ ครั้ง และไถแปร เพื่อทำให้ดินแตกละเอียดพอสมควรอีก ๒ ครั้ง แล้วคราดเอาหญ้าออก สำหรับในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว การคราดครั้งสุดท้าย จะต้องทำให้ดินแตกเป็นเทือกโคลนด้วย เพราะจะทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโต และตั้งตัวได้รวดเร็ว รากจะเดินหาอาหารได้สะดวก ขณะที่กำลังปักดำ ระดับน้ำในนาควรมีประมาณ ๕ เซนติเมตร เพื่อจะได้ช่วยประคองไม่ให้ต้นพับ สำหรับดินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องทำการปักดำทันที หลังจากที่ได้ไถดะ และเก็บวัชพืชออกแล้ว เพราะเป็นดินทราย มีอินทรียวัตถุต่ำและดินตกตะกอนเร็ว ทำให้ดินเกาะตัวเป็นพื้นแข็ง หลังจากการไถแล้วหนึ่งวัน จนทำให้ยากแก่การปักดำ การที่จะปรับปรุงดิน ให้เหมาะกับการปลูกข้าวนั้น ให้หว่าน สารซิลิคอนโวก้า ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  ทั้งนี้เพื่อให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น นอกจากนี้ การไถกลบตอซัง ก็มีส่วนช่วยให้ดินดีขึ้น และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินด้วยไถนา

๒.การเลือกใช้ต้นกล้าปักดำ

การใช้ต้นกล้าที่มีอายุแก่เกินไปมาปักดำ จะทำให้มีการแตกกอน้อยและให้ผลิตผลต่ำ อายุของต้นกล้าที่เหมาะสำหรับการปักดำ ควรมีอายุประมาณ ๒๕-๓๐ วัน พันธุ์ข้าวพวก กข.๗ กข.๙ กข.๒๑ กข.๒๓ และ กข.๑๐ (กข. หมายถึง กรมการข้าว และเลขคี่ หมาย ถึง ข้าวเจ้า เลขคู่ หมายถึง ข้าวเหนียว เพราะฉะนั้น กข.๗ และกข.๙ เป็นข้าวเจ้า ส่วน กข.๑๐ เป็นข้าว เหนียว) ต้นกล้าที่มีอายุ ๒๐ วัน ก็ใช้ได้ ต้นกล้าที่มีอายุ ดังกล่าวนี้ จะฟื้นตัวเร็วหลังปักดำ และมีการแตกกอมาก

ปักดำกล้าข้าว
ปักดำกล้าข้าว

๓. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหรือปักดำ

การปลูกข้าวเร็วหรือช้าเกินไป อาจทำให้ผลิตผลลดลงได้ เป็นต้นว่า ใช้พันธุ์ข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปี โดยปลูกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทั้งๆ ที่ พันธุ์ดังกล่าวนี้ จะออกรวงในต้นเดือนธันวาคม ทำให้ต้นข้าวต้องอยู่ในนา นานกว่าจำเป็น เปิดโอกาสให้โรคและแมลงเข้าทำลายต้นข้าวได้เป็นเวลานาน เดือนที่เหมาะสม สำหรับการปลูกพันธุ์ข้าวที่ไวต่อช่วงแสง และออกดอกในต้นเดือนธันวาคมนี้ คือ เดือนสิงหาคม เพราะต้นข้าวจะได้มีเวลาเจริญเติบโต จนออกรวง ประมาณ ๑๒๐ วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่จำเป็น สำหรับข้าวที่ให้ผลิตผลสูง แต่ถ้าปักดำช้ากว่านี้ ต้นข้าวจะมี ระยะเวลาไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต จึงทำให้ได้ ผลิตผลต่ำกว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม สภาพของอากาศ และความยาวของช่วงแสงของกลางวัน อาจมีอิทธิพล ต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว เพราะพันธุ์ข้าวที่ไม่มีความไวต่อช่วงแสง ย่อมให้ผลิตผลไม่สูง ถ้าปลูกในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น พันธุ์ กข.๑ ให้ผลิตผลสูง เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง โดยจะเริ่มปลูกในเดือนกุมภาพันธ์ แต่จะให้ผลิตผลต่ำ ถ้าเริ่มปลูกในเดือนธันวาคม

๔. ระยะปลูก

ระยะปลูกก็มีความสัมพันธ์กับการให้ผลิตผล ระยะปลูกนั้น หมายถึง ระยะห่างระหว่างกอ และระหว่างแถว ถ้าปลูกห่าง ก็จะเปลืองเนื้อที่ ถ้าปลูกถี่ ก็จะเปลืองเมล็ดพันธุ์ ระยะปลูกที่ดีสำหรับข้าวพันธุ์ดี คือ ระหว่างกอ ห่างกัน ๒๐ เซนติเมตร และระหว่างแถวห่างกัน ๒๕ เซนติเมตร นอกจากนี้ ระยะปลูกนั้นยังขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และชนิดของพันธุ์ข้าวด้วย ในที่ดินทรายทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ของดินเลว จะต้องปลูกให้ถี่กว่าในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี คือ ระยะห่างระหว่างกอ และระหว่างแถวอาจเป็น ๑๕ และ ๒๐ เซนติเมตรตามลำดับ เพราะการแตกกอน้อยในดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินเลว แต่ละกอที่ปักดำ ควรใช้ต้นกล้าประมาณ ๓-๕ ต้น ส่วนนาหว่านควรใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๘-๑๕ กิโลกรัม/ไร่

๕. การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยเป็นอาหารพืชที่ต้นข้าวต้องการมากสำหรับ การเจริญเติบโต โดยเฉพาะดินนา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  จะต้องมีการใส่ปุ๋ยในดินนั้น เพื่อต้นข้าวจะได้แข็งแรง แตกกอมาก และให้ผลิตผลสูง ควรใส่ปุ๋ยทั้งในแปลงกล้า และแปลงปักดำ ตลอดถึงพื้นที่นาที่ปลูกแบบหว่าน ธาตุอาหารที่ต้นข้าวต้องการปุ๋ยมาก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพราะ ฉะนั้น ปุ๋ยข้าวจะต้องมีธาตุเหล่านี้จำนวนมาก การใส่ ปุ๋ยควรแบ่งออกเป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ก่อนตกกล้า ปัก ดำ ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยรองพื้น  ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่  ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0  สำหรับดินเหนียว หรือ 16-16-8 สำหรับดินทราย  ปริมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่   และครั้งที่ 2 ก่อนออกรวง ซึ่งเรียกว่า ปุ๋ยแต่งหน้า ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10 กิโลกรัมต่อไร่

๖. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า จะช่วยทำให้ข้าวแข็งแรง ลดปัญหาโรคแมลงลงได้มาก  ประกอบกับข้าวพันธุ์ดีก็มีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เกษตรกรก็ควรตรวจดูแปลงข้าวอยู่เสมอ ว่ามีโรคแมลงเข้ามาทำลายหรือไม่ เพื่อจะได้กำจัดเสียแต่เนิ่น ๆ

๗. การกำจัดวัชพืช

วัชพืชในนามีหลายชนิด แต่ละชนิดต่างก็พยายามจะแย่งอาหารหรือปุ๋ยจากต้นข้าว เพราะฉะนั้น ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การปราบวัชพืชทำได้โดยวิธีการใช้มือถอน หรือใช้ยาฆ่าวัชพืชก็ได้ ยาที่ใช้ก็มีทั้งรูปที่เป็นน้ำเหลว หรือเป็นเม็ดหว่าน ลงไปในนาได้โดยตรง

๘.การรักษาระดับน้ำในนา

น้ำในนาหลังจากปลูกข้าวแล้ว ควรควบคุมระดับน้ำให้อยู่ประมาณ 5 เซนติเมตร เพราะน้ำในระดับนี้  เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าว เพื่อคุมวัชพืชไม่ให้งอกมาแย่งปุ๋ย และยังสามารถละลายปุ๋ยที่เข้มข้นให้เจือจาง กระจายได้พอเหมาะไปทั่วแปลง แต่หากน้ำมีมากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเจือจาง ระเหยไปกับน้ำเมื่อถูกแสงแดด   และเมื่อต้นข้าวออกรวงได้แล้วประมาณ ๒ สัปดาห์ จะต้องไขน้ำออกจากนา ให้หมด เพื่อทำให้เมล็ดแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ใน ขณะที่ดินนานั้นแห้ง ทำให้สะดวกแก่การเข้าไปเก็บ เกี่ยว การขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโตของข้าว นอกจากจะทำให้ต้นข้าวไม่เจริญเติบโตแล้ว ยังทำให้ เกิดมีวัชพืชจำนวนมากด้วย

ระดับน้ำในนาข้าว
ระดับน้ำในนาข้าว

 

ซิลิคอน กับข้าว

ข้าวเป็นพืชที่สะสมซิลิคอน  มีปริมาณมากถึง 10% ของน้ำหนักแห้ง ซิลิคอนเป็นธาตุที่มีความสำคัญมากกับข้าว ข้าวที่ขาดซิลิคอนจะมีอาการดังนี้

  • ลำต้นและใบลู่ลง ทำให้เกิดการบังแสงกันเอง
  • การสังเคราะห์แสงลดลง
  • ผลผลิตลดลง
  • อัตราการเกิดโรคสูงขึ้น ได้แก่ โรคไหม้  โรคใบจุดสีน้ำตาล
  • จำนวนช่อดอกลดลง ช่อดอกไม่สมบูรณ์
  • ล้มง่าย

ดังนั้นการเสริมซิลิคอน มีความสำคัญมากต่อการเพิ่มผลผลิต และการป้องกันโรคข้าว  โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งเป็นเขตร้อน มีการชะล้างซิลิคอน ออกจากแปลงในปริมาณสูง   หากข้าวมีอาการดังกล่าว ควรปรับสภาพดิน และเสริมสารซิลิคอน ด้วย สารเพิ่มผลผลิตซิลิคอนโวก้า และปุ๋ยอินทรีย์โวก้า ซึ่งมีแอคทีฟซิลิคอนในปริมาณสูง

พันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี
จากอดีต ถึงปัจจุบัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไป ให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ธัญพืชเมืองหนาว และข้าวญี่ปุ่น จำนวน 93 พันธุ์ ดังนี้

ข้าวนาสวน พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 35 พันธุ์
ข้าวนาสวน พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 29 พันธุ์
ข้าวขึ้นน้ำ พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึก พันธุ์่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 5 พันธุ์
ข้าวน้ำลึก พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวไร่ พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 7 พันธุ์
ข้าวไร่ พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอม พันธุ์ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวแดงหอม พันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 1 พันธุ์
ข้าวญี่ปุ่น จำนวน 2 พันธุ์
ข้าวสาลี จำนวน 4 พันธุ์
ข้าวบาร์เลย์ จำนวน 2 พันธุ์

พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูุกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ีผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ อย่างไรก็ตามงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะพันธุ์ที่ออกแนะนำแล้วปัจจุบันบางพันธุ์เกษตรกรอาจจะยังคงนิยมปลูกอยู่ แต่บางพันธุ์เกษตรกรอาจเลิกปลูก เนื่องจากมีข้อด้อยบางประการ การนำเอาพันธุ์ข้าวเหล่านั้นไปใช้ของเกษตรกรจึงเป็นไปในลักษณะของการแก้ ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ออกพันธุ์ข้าวนั้นเท่านั้น รวมทั้งบางพันธุ์เมื่อแนะนำให้ปลูกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจไม่มีความ เหมาะสมในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือโรค แมลงศัตรูข้าวมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดโลก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงต้องดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์โดยไม่มีที่สิ้นสุด

ชนิดของพันธุ์ข้าว
1) แบ่งตามนิเวศน์การปลูก
ข้าวนาสวน
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
– ข้าวนาสวนนาน้ำฝน
ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
– ข้าวนาสวนนาชลประทาน
ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง

ข้าวขึ้นน้ำ
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)

ข้าวน้ำลึก
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร

ข้าวไร่
ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ

ข้าวนาที่สูง
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี

2) แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง
ข้าวไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพบว่าข้าวไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอกในเดือนที่มีความยาว ของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย (less sensitive to photoperiod) และพันธุ์ที่ออกดอกเฉพาะในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 10-20 นาทีก็ได้ชื่อว่าเป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสงมาก (strongly sensitive to photoperiod) พันธุ์ข้าวประเภทนี้จึงปลูกและให้ผลผลิตได้ปีละหนึ่งครั้ง หรือปลูกได้เฉพาะในฤดูนาปี บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปี พันธุ์ข้าวในประเทศไทยที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่มีความไวต่อช่วงแสง

ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
เป็นข้าวที่ออกดอกเมื่อข้าวมีระยะเวลาการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามอายุ จึงใช้ปลูกและให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี หรือปลูกได้ในฤดูนาปรัง บางครั้งจึงเรียกว่า ข้าวนาปรัง

 

วิธีการปลูกยางพารา

   

ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

      สภาพพื้นที่ควรเป็นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือมีความลาดเอียงต่ำกว่า 35 องศา ลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ควรเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ไม่มีชั้นดินดาน มีการระบายและถ่ายเทอากาศดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 4.5-5.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยางพาราอยู่ระหว่าง 24-27 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,250 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนวันฝนตกประมาณ 120-145 วันต่อปี และมีความต้องการปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน 184 กรัมต่อตัน ฟอสฟอรัส 19 กรัมต่อตัน และโพแทสเซียม 145 กรัมต่อตัน ในแต่ละฤดูกาล

พันธุ์ยางพารา

      พันธุ์ยางพาราที่นิยมปลูกได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) สงขลา 36 BPM 24 PM 255 PB 260 PR 255 RRIC 110 และ RRIM 600

การเตรียมดิน

      ทำการไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกยางพารา สำหรับพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 15 องศา จะต้องวางแนวปลูกตามขั้นบันได เพื่อลดอัตราการสูญเสียหน้าดิน โดยมีความกว้างของหน้าดินอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อป้องกันต้นยางพาราล้ม หากขั้นบันไดเสียหาย ในกรณีพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบก็ทำเฉพาะทางระบายน้ำเท่านั้น และทำการปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน พืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ปอเทือง อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือโสนอัฟริกัน อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านหรือโรยเป็นแถว และไถกลบเมื่ออายุ 45 วัน และปล่อยให้ย่อยสลาย 15 วัน แล้วจึงเตรียมหลุมปลูกยางพารา

วิธีการปลูกยางพารา

      ต้องวางแนวปลูกตามแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีระยะปลูก 2.5 x 8.0 เมตร หรือ 3.0 x 7.0 เมตร หรือ 3.0 x 6.0 เมตร ในแหล่งปลูกยางใหม่ โดยมีขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร และทำการปลูกต้นกล้ายางพารา โดยคัดเลือกต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ขนาด 1-2 ฉัตร และคลุกปุ๋ยหมักอัตรา 15-25 กิโลกรัมต่อหลุม พร้อมกับใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อตัน ใส่รองก้นหลุมและทำการปลูกต้นกล้ายางพารา หลังจากปลูกยางพาราได้ 15 วัน ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วคาโลโปโกเนียม อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ หรือถั่วคุดซู อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ หรือถั่วฮามาด้า อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวแทรกระหว่างยางพารา เพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช ป้องกันการชะล้างพังทลาย และเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

การดูแลรักษา

      ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่ง พด.2 ให้พืชปุ๋ยสดทุก 7 วัน อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ นำมาเจือจาง 1:1,000 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชปุ๋ยสด และหลังจากปลูกยางพาราแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้กับยางพาราทางใบ หรือราดรดลงดินทุก 1 เดือน และให้ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำกับพืชตระกูลถั่วที่ปลูกคลุมดินด้วย

การป้องกันกำจัดโรค

      โรคราแป้ง ราสีชมพู โรคใบร่วง และผักเน่า และแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก หนอนทราย รวมทั้งวัชพืชชนิดต่าง ๆ ทำได้โดยใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช การกรีดยางสามารถทำการกรีดยางได้เมื่อต้นยางอายุ 6 ปี ขนาดเส้นรอบวงของลำต้น บริเวณที่ทำการกรีดยางไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยกรีดครึ่งลำต้น ความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน โดยกรีดทำมุม 30 องศา กับแนวระนาบ และเอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง ติดรางรองรับน้ำยางห่างด้านหน้าประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน้ำยางให้ห่างจากรางรองรับน้ำยางลงมาประมาณ 10 เซนติเมตร กรีดยางให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่ไม่ควรถึงเนื้อไม้ เมื่อกรีดยางเสร็จ ควรฉีดพ่นหรือทาบริเวณที่กรีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง 1:1,000 เพื่อให้ยางมีน้ำยางมากที่สุด ยืดอายุการกรีดยางและต้นยางเสียหายน้อยที่สุด

การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยว

       ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นมีอายุยาว ดังนั้นในแต่ละปี จะต้องมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุหรือปุ๋ยอินทรีย์ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พืชตระกูลถั่วคลุมดิน พร้อมทั้งเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชรอบ ๆ โคนต้นยางพารา ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การจัดการดินเพื่อปลูกยางพาราโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวนี้จะสามารถลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถเพิ่มผลผลิตยางพาราได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติเดิมของเกษตรกร

 

lieng